เมนู

หรือด้วยคุณธรรมของคนเหล่าอื่น ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วยคุณธรรม
นั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้างจองหองหัวสูงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น.
[712] คำว่า เพราะทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลาย
กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส
ความว่า การทำความรุนแรงนั้น อันพระ-
พุทธเจ้า พระพุทธสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นสัตบุรุษ ไม่กล่าว
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่แต่งตั้ง ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก
ไม่ทำให้ตื้น ไม่ประกาศว่าเป็นความดับกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับ
กิเลส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือ
ภายนอก ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะ
การทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็น
ความดับกิเลส.

[713] ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า
เสมอเขา ด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณ-
ธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.


ว่าด้วยมานะ (ความสำคัญตัว)


[714] คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา . . .ด้วยคุณธรรม
นั้น
ความว่า ภิกษุไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ด้วย

ชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม
ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักวิชา ด้วย
วิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา. . .ด้วยคุณธรรมนั้น.
[715] คำว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา ความว่า ภิกษุ
ไม่พึงยังความถือตัว ตกต่ำให้เกิดว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วย
โคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ ไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็น
ผู้เสมอเขา ด้วยขาด ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความ
เป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วย
หลักวิชา ด้วยวิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา.
[716] คำว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ความว่า
ผู้เพียบพร้อม ห้อมล้อม พรั่งพร้อม ประกอบด้วยอาการหลายอย่าง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก.
[717] คำว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ ความว่า ตนเรียกว่า
อาตมันไม่พึงกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดตน ดำรงอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า
เสมอเขาด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณ-
ธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.

[718] ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา
ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว
อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ.

[719] คำว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ความว่า
ภิกษุพึงสงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลส เป็น
ภายใน คือราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน
ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงสงบกิเลส
เป็นภายในนี้แหละ.
[720] คำว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น ความว่า
ภิกษุไม่พึงแสวงหา ค้นหา เสาะหา ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความ
เข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความระงับ โดยทางแห่งความไม่หมดจด
โดยปฏิปทาผิด โดยธรรมไม่เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างอื่น นอกจาก
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น.
[721] คำว่า เมื่อสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว ความว่า เมื่อสงบ
เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลสเป็นภายใน คือราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อ
สงบกิเลสเป็นภายในแล้ว .

[722] คำว่า นตฺถิ ในคำว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อม
ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ ดังนี้ เป็นปฏิเสธ. คำว่า อัตตทิฏฐิ คือสัสสตทิฏฐิก็ไม่มี
คำว่า นิรัตตทิฏฐิ คืออุจเฉททิฏฐิก็ไม่มี ความถือว่าตนย่อมไม่มี ความ
ปล่อยว่าไม่มีตนก็ไม่มี ความถือไม่มีแก่ภิกษุใด ความปล่อยก็ไม่มีแก่ภิกษุ
นั้น ความปล่อยไม่มีแก่ภิกษุใด ความถือก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุผู้เป็น
อรหันต์ ก้าวล่วงความถือและความปล่อยเสียแล้ว ล่วงเลยความเจริญ
และความเสื่อมเสียแล้ว ภิกษุนั้นอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอัน
ประพฤติแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นมิได้มีความเกิดใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา
ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว
อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหน ๆ.

[723] คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ
อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว
ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[724] คำว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทร
สงบอยู่ฉันใด
ความว่า โดยส่วนลึก สมุทรลึก 84,000 โยชน์ น้ำข้าง
ล่าง 40,000 โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะปลาและเต่าทั้งหลาย น้ำข้างบน
40,000 โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะลม น้ำระหว่างกลาง 40,000 โยชน์

ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบวนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่
หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่
คลื่นไม่เกิดในระหว่างกลางแห่งสมุทรนั้น เป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุดอยู่
ฉันใด อีกอย่างหนึ่ง สมุทรสีทันดรมีอยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง 7 น้ำใน
สมุทรสีทันดรนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบ วนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วน-
พร้อม เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน
ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในสมุทรสีทันดรนั้นเป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วย
เหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุด
อยู่ ฉันใด.
[725] คำว่า เอวํ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ไม่มีความหวั่น
ไหวฉันนั้น
เป็นอุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า เป็นผู้หยุดอยู่
คือภิกษุไม่หวั่นไหว กำเริบ วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน
เพราะลาภ แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะ
ความเสื่อมยศ แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้
ในเพราะสุข แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด
อยู่ ฉันนั้น. ตัณหาเรียกว่าความหวั่นไหว ในคำว่า ไม่มีความหวั่นไหว
ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯ ลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาที่ชื่อว่า
ความหวั่นไหวนั้น อันภิกษุใดละ. ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้เกิดขึ้น
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นเรียกว่า ไม่มีความหวั่นไหว เพราะ
เป็นผู้ละความหวั่นไหวเสียแล้ว ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว

ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหว วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน
เพราะลาภ . . . แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด
อยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น.

กิเลสเครื่องฟู 7 ประการ


[726] ชื่อว่ากิเลสเครื่องฟูขึ้น ในคำว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลส
เครื่องฟูขึ้นในที่ไหน ๆ
ได้แก่ กิเลสเครื่องฟู 7 ประการ คือกิเลสเครื่อง
ฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส กรรม ภิกษุไม่ควร
ทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นนั้น ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด
เฉพาะ. คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ ในที่ใด ๆ ในที่ทุก ๆ แห่ง
ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ
อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว
ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[727] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงสักขิธรรมเครื่องกำจัด
อันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสตอบ
ปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ.